กลยุทธ์การพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

ตลาดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ เป็นตลาดที่กำลังได้รับความสนใจ จากนักท่องเที่ยว องค์กรของรัฐ องค์กรพัฒนาเอกชน ผู้ประกอบธุรกิจท่องเที่ยว นักอนุรักษ์ และบุคคลทั่วไปที่รักธรรมชาติ และต้องการรักษาสิ่งแวดล้อมให้คงอยู่อย่างยั่งยืน การมองตลาดการท่องเที่ยวจึงมีสองด้าน คือ ด้านตลาดที่ต้องการมีสิ่งดึงดูดใจใหม่ๆ ที่เป็นเหมือนผลิตภัณฑ์ (Product) ในการเสนอขายกับด้านที่ให้ตลาดเป็นสื่อนำคนเข้าไปสัมผัส เรียนรู้ และร่วมรักษาทรัพยากรแหล่งท่องเที่ยว กลยุทธ์การส่งเสริมการตลาดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ เป็นการประสานแนวคิดทั้งสองเข้าด้วยกัน ภายใต้กรอบความต้องการโดยรวมของประเทศเป็นหลัก

แหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ เป็นทรัพยากรที่มีความอ่อนไหว อาจได้รับผลกระทบได้ง่าย ดังนั้น กลยุทธ์ด้านการตลาดจึงเป็นกลยุทธ์ที่ต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานของการจัดการและการพัฒนา ที่มีการดำเนินการแล้วอย่างมีคุณภาพ โดยต้องจัดให้เกิดความสมดุลระหว่างความสามารถในการรองรับของพื้นที่กับปริมาณนักท่องเที่ยว ทั้งนี้การตลาดจะต้องพิจารณาการกระจายตัวที่เหมาะสมของอุปสงค์ และสนับสนุนกลยุทธ์ด้านอื่นๆ ควบคู่กันไปด้วย

การส่งเสริมให้นักท่องเที่ยวเดินทางมาท่องเที่ยวเชิงนิเวศ เป็นกระบวนการที่ต้องจัดทำขึ้น โดยมุ่งส่งเสริมให้ตลาดเป็นตลาดที่มีคุณภาพ และให้การท่องเที่ยวสอดคล้องกับความต้องการ หรือความคาดหวังของกลุ่มเป้าหมาย ดังนั้น การส่งเสริมการตลาดจึงไม่ใช่การพยายามเพิ่มปริมาณของนักท่องเที่ยวเพียงอย่างเดียว หากยังต้องจัดสรรให้มีการกระจายตัวของนักท่องเที่ยวอย่างเหมาะสมต่อสภาพของอุปทานที่มีอยู่ ภายใต้ขีดความสามารถของแหล่งท่องเที่ยวที่รองรับได้ นอกจากนี้ การตลาดจะต้องส่งเสริมและสนับสนุนให้การท่องเที่ยวเชิงนิเวศบรรลุเป้าหมายอื่นๆ ด้วย เช่น ด้านการรักษาสิ่งแวดล้อม ด้านการให้การศึกษา ด้านการกระจายรายได้ เป็นต้น

กลยุทธ์ด้านการตลาด เป็นกลยุทธ์ที่ต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานขงการจัดการและการพัฒนาที่มีการดำเนินการอยู่แล้วอย่างมีคุณภาพ โดยต้องจัดให้เกิดความสมดุลระหว่างความสามารถในการรองรับของพื้นที่กับปริมาณนักท่องเที่ยว ทั้งนี้การตลาดจะต้องพิจารณาการกระจายตัวที่เหมาะสมของอุปสงค์ และสนับสนุนกลยุทธ์ด้านอื่นๆ ควบคู่ไปด้วย

กลยุทธ์ในระยะแรก จึงควรมุ่งเน้นการท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศที่มีศักยภาพ และมีการจัดการรองรับการท่องเที่ยวไว้ค่อนข้างดี ก่อนที่จะส่งเสริมให้การท่องเที่ยวเชิงนิเวศกว้างขวางออกไป การส่งเสริมการตลาดอย่างเต็มที่ต้องดำเนินการภายหลังการดำเนินการจัดการทรัพยากรที่มีศักยภาพนั้นๆ และมีการสร้างโครงข่ายการท่องเที่ยวที่เหมาะสมแล้วก่อนด้วย

ในกระบวนการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ การจัดการบริการนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ พบว่าเป็นกลไกที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง ในการเป็นตัวกลางเชื่อมโยงระบบตลาดกับตลาดทรัพยากร หรือให้นักท่องเที่ยวได้เข้าถึงแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ โดยเฉพาะการกระจายข้อมูล ข้อสนเทศไปยังนักท่องเที่ยว การนำเที่ยวเป็นองค์ประกอบที่มีศักยภาพที่สุดในการควบคุมพฤติกรรมทางเศรษฐกิจ การให้ความรู้แก่นักท่องเที่ยว และการควบคุมพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวที่มีประสิทธิภาพที่สุด รวมทั้งเป็นส่วนที่จะส่งเสริมให้เกิดนักท่องเที่ยวเชิงนิเวศเพิ่มมากขึ้น โดยมัคคุเทศก์คือ ผู้มีบทบาทสำคัญในการให้ข้อมูลและรายละเอียดของทรัพยากรการท่องเที่ยว เพื่อการศึกษาแก่นักท่องเที่ยว การเดินทางท่องเที่ยวแบบเอกเทศของนักท่องเที่ยวนั้น จะเกิดประโยชน์ได้น้อยในการท่องเที่ยวรูปแบบนี้ ยกเว้นการเดินทางไปยังแหล่งท่องเที่ยวที่มีการจัดการทรัพยากรแบบศึกษาด้วยตนเอง (Self-guide) ซึ่งโดยภาพรวมแล้วจะมีปริมาณน้อย นอกจากนี้ ตัวกลางนี้ยังจะมีบทบาทที่สัญในการกำกับและควบคุมพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวให้อยู่ในกรอบของนักท่องเที่ยวเชิงนิเวศ รวมทั้งเป็นผู้ที่จะสามารถสนับสนุนกลยุทธ์การจัดการด้านอื่นๆ ได้เป็นอย่างดี

การพัฒนาธุรกิจและความร่วมมือด้านการท่องเที่ยว

ธุรกิจหลักของธุรกิจการเดินทางและท่องเที่ยวของไทย ได้แก่ ธุรกิจบริการที่พัก ธุรกิจบริการอาหารและเครื่องดื่ม และธุรกิจบริการนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ ผู้ประกอบการธุรกิจเหล่านี้กว่าร้อยละ 99 เป็นผู้ประกอบการ SMEs และ MSEs รูปแบบของการประกอบธุรกิจจะมีลักษณะเป็นกิจการในครอบครัวไม่ได้มีระบบการบริหารจัดการตามระบบทางธุรกิจอย่างเป็นระบบ การดำกิจการจะเป็นรูปแบบง่ายๆไม่ซับซ้อน เนื่องจากจะใช้แรงงานของสมาชิกในครอบครัวเป็นหลัก แบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบในการบริหารงานกันตามความสมัครใจหรือความสามารถของสมาชิกในครอบครัวกันอย่างง่ายๆหรืออาจจะเป็นการให้ความช่วยเหลือกันระหว่างเพื่อนบ้านใกล้เคียงหรือคนในท้องถิ่นนั้นๆ โครงสร้างองค์กรหรือ Organization Chart จะมีลักษณะที่ค่อนข้างราบไม่ได้มีการแบ่งแยกเป็นสายงานหรือสายการบังคับบัญชาที่ชัดเจนหรือยุ่งยากซับซ้อนดังเช่นองค์กรธุรกิจขนาดใหญ่ หากงานในส่วนไหนยังขาดคนรับผิดชอบก็สามารถเข้าไปทำแทนกันหรือแรงงานหนึ่งคนสามารถรับผิดชอบในหลายหน้าที่ในเวลาเดียวกันได้เนื่องจากไม่ได้แบ่งแยกหน้าที่ความรับผิดชอบกันอย่างเด็ดขาดชัดเจนนัก ถึงแม้ว่าผู้ประกอบการ SMEs บางรายจะมีการจ้างแรงงานเพิ่มเติมจากการใช้แรงงานในครอบครัวก็จะเป็นการจ้างงานเพียงชั่วคราวในฤดูกาลท่องเที่ยวที่มีนักท่องเที่ยวมาใช้บริการมาก ไม่ได้มีการจัดโครงสร้างองค์กรเพื่อรองรับการขยายการบริหารงานหรือการบริการที่เพิ่มขึ้นดังกล่าว ไม่มีการกำหนดตำแหน่งงานหรือการปรับระดับและอัตราเงินเดือนตามโครงสร้างองค์กรหรือหลักเกณฑ์ในการบริหารงานขององค์กรธุรกิจทั่วไป รวมทั้งอาจไม่ได้มีการทำสัญญาจ้างงานและให้สวัสดิการต่าง ๆ ตามกฎหมายแรงงาน โดยอาจจะเป็นการเจรจาตกลงราคาค่าจ้างและขอบเขตหน้าที่ความรับผิดชอบกันง่าย ๆ เท่านั้น หากทั้งผู้จ้างและผู้รับจ้างตกลงกันได้ก็เข้ามาร่วมงานกัน ไม่ใช่เป็นการหาแรงงานมาบรรจุตามตำแหน่งที่ว่างตามโครงสร้างองค์กร หากต้องการขยายงานหรือขยายการประกอบธุรกิจในส่วนไหนก็จะทำตามที่เจ้าของกิจการต้องการโดย ไม่ได้มีการวางแผนงานไว้ล่วงหน้า

สำหรับปัญหาหลักในการบริหารจัดการของผู้ประกอบการSMEในธุรกิจการเดินทางและท่องเที่ยวที่สำคัญน่าจะมีอยู่สองประเด็นด้วยกัน คือ ผู้ประกอบการมักขาดความรู้ทางด้านการบริหารจัดการ และผู้ประกอบการ SMEs ยังไม่มีการนำระบบเทคโนโลยีและสารสนเทศมาช่วยในการบริหารจัดการธุรกิจมากนัก การขาดความรู้ทางด้านการบริหารจัดการของผู้ประกอบการ SMEs ในธุรกิจ การเดินทางและท่องเที่ยวส่วนใหญ่จะเป็นการขาดความรู้และทักษะในด้านการบริหารจัดการสมัยใหม่ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากผู้ประกอบการSMEsส่วนใหญ่เห็นว่าการบริหารงานเป็นการอาศัยแรงงานภายในครอบครัวเป็นหลักจึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องอาศัยหลักการบริหารจัดการตามหลักวิชาการหรือกำหนดรูปแบบการบริหารจัดการให้ยุ่งยาก เพราะบุคลากรก็มีจำกัดและสามารถผลัดเปลี่ยนกันเข้าไปรับผิดชอบหรือปฏิบัติงานในหน้าที่ต่างๆทดแทนกันได้ตลอดเวลา อีกทั้งในแต่ละวันก็มีการปรึกษาหารือหรือพูดคุยเกี่ยวกับการบริหารงานและการปฏิบัติงานตลอดเวลาหรือหากจะต้องมีการประสานงานก็เป็นลักษณะอาศัยความสัมพันธ์อย่างไม่เป็นทางการเป็นส่วนใหญ่โดยจะเน้นความช่วยเหลือเกื้อกูลกันทั้งระหว่างเครือญาติและคนในท้องถิ่น อีกทั้งจากการที่ไม่ได้มีการรวบรวมข้อมูลหรือสถิติสำคัญเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจของตนเอง อย่างเป็นระบบ ผู้ประกอบการ SMEs จึงไม่เห็น ความสำคัญของการที่จะต้องมีการจัดทำแผนงานหรือวางแผนเกี่ยวกับการดำเนินกิจการรวมทั้งการขยายกิจการในอนาคต ดังนั้น จึงควรมีการกระตุ้นให้ผู้ประกอบการ SMEs ในธุรกิจการเดินทางและท่องเที่ยวหันมาให้ความสนใจที่จะศึกษาและพัฒนาความรู้เกี่ยวกับการบริหารจัดการสมัยใหม่เพื่อนำมาประยุกต์ใช้กับการประกอบธุรกิจ ประเด็นเกี่ยวกับผู้ประกอบการ SMEs ไม่เห็นความสำคัญของการนำระบบเทคโนโลยีและสารสนเทศมาใช้ในการบริหารจัดการธุรกิจ อาจเนื่องมาจากการประกอบธุรกิจการเดินทางและท่องเที่ยวโดยผู้ประกอบการ SMEs ส่วนใหญ่เป็นกิจการขนาดเล็กและใช้เงินลงทุนไม่มากนัก ขณะที่การจะนำระบบเทคโนโลยีและสารสนเทศมาใช้ในการดำเนินงานจะต้องลงทุนเพิ่มอีกเป็นจำนวนมาก จึงอาจไม่คุ้มค่ากับการลงทุนอีกทั้งผู้ประกอบการ SMEs ส่วนใหญ่ยังขาดความรู้ความสามารถในการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ผู้ประกอบการ SMEs ส่วนใหญ่จึงเห็นว่าการลงทุนใน ด้านระบบเทคโนโลยีและสารสนเทศไม่น่าจะคุ้มค่าและอาจจะไม่เหมาะสมกับกิจการขนาดเล็ก อีกทั้งรูปแบบของการบริหารจัดการก็ไม่ได้มีความซับซ้อนจนต้องนำระบบเทคโนโลยีและสารสนเทศมาช่วยในการบริหารจัดการ แต่หากหน่วยงานภาครัฐจะมีการจัดทำระบบงานหรือพัฒนาระบบเทคโนโลยีและสารสนเทศที่ราคาไม่แพงรวมทั้งมีฝึกอบรมและให้ความรู้เกี่ยวกับระบบเทคโนโลยีและสารสนเทศสำหรับใช้ในการประกอบธุรกิจการเดินทางและท่องเที่ยวก็น่าจะช่วยลดปัญหาในด้านนี้ลงได้

ทริปนี้ชวนท่านเดินทางท่องเที่ยวไปยังสเปน

สเปน เป็นประเทศทางตะวันตกเฉียงใต้ของทวีปยุโรป ตั้งอยู่บนคาบสมุทรไอบีเรียร่วมกับโปรตุเกสและอันดอร์รา สเปนมีพรมแดนติดกับฝรั่งเศสทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือตามแนวเทือกเขาพิเรนีส สเปนกลายเป็นประเทศที่มีอำนาจมากที่สุดในยุโรปขณะนั้น แต่สงครามที่มีอย่างต่อเนื่องและปัญหาอื่นๆก็ทำให้ความยิ่งใหญ่ของประเทศลดลงไป ในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 สเปนมีการปกครองระบอบเผด็จการ แต่ปัจจุบันปกครองโดยพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญและรัฐสภาที่มาจากการเลือกตั้งในระบอบประชาธิปไตย ตั้งแต่มีการผ่านรัฐธรรมนูญของสเปนเมื่อปี ค.ศ. 1978

ขณะนี้สเปนประสบกับภาวะวิกฤตเศรษฐกิจ

เกิดสภาวะปัญหาข้าวยากหมากแพง จึงมีการนัดหยุดงาน และชุมนุมประท้วงรัฐบาลบ่อยครั้ง การนัดหยุดงานของกลุ่มแรงงานต่างๆในสเปนส่วนใหญ่เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยสถานภาพแรงงานของสเปน ซึ่งมีระยะเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดที่แน่นอน อย่างไรก็ตามภาวะวิกฤตเศรษฐกิจสเปนได้ทวีความรุนแรงขึ้นมาก จึงมีการนัดหยุดงานที่ไม่เป็นไปตามกฎหมายแรงงานสเปนด้วย กลุ่มผู้ประท้วงนี้เป็นกลุ่มนักศึกษาและคนสเปนที่ตกงานจำนวนมาก ซึ่งชุมนุมตามเมืองใหญ่ของสเปน อาทิ กรุงมาดริด นครบาร์เซโลนา เมืองบิลเบา เมืองเซวิญญา โดยกลุ่มผู้ชุมนุมประท้วงเพื่อเรียกร้องเห็นความเปลี่ยนแปลงในการเมืองสเปนในปัจจุบัน โดยประท้วงการคอรัปชั่นของนักการเมือง ปัญหาวิกฤตตลาดแรงงาน ปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจ ฯลฯ

สเปนมีพื้นที่ส่วนใหญ่ติดทะเล

อาหารทะเลจึงเป็นที่นิยมกันมากของชาวสเปน อาหารทะเลที่ขึ้นชื่อก็มี อาร์โรซเนโกรหรือข้าวผัดอาหารทะเล ปรุงด้วยหมึกดำจากปลาหมึก นอกจากนี้ยังมีข้าวผัดสเปนเป็นอาหารประจำชาติของประเทศ สำหรับอาหารว่างที่มีชื่อเสียงของสเปน ได้แก่ Tapas มักจะสั่งมาแกล้มกับเบียร์หรือเครื่องดื่ม นักท่องเที่ยวควรไปหาลิ้มลองอาหารเลื่องชื่อของเขาจากร้านอาหารทั่วไปหรือภัตตาคารภายในที่พักในสเปน สำหรับท่านที่เป็นนักช้อปตัวยง พลาดไม่ได้เลยกับการไปเลือกซื้อของที่ระลึกในย่านกลางเมือง ซึ่งมักเป็นงานฝีมือที่รู้จักกันดี และมีชื่อเสียงของนครโตเลโด้ นั่นก็คือ ดาบและมีดเหล็กกล้าแบบเคลือบดำฝังเงิน ทอง และลวดทองแดง นอกจากนี้ยังมีงานเซรามิคทุกประเภท พัดสเปน ตุ๊กตาพื้นเมือง กระเป๋าและรองเท้าหนัง ไส้กรอกสเปนชนิดต่างๆ ขนมถั่วตัดสเปน เนยแข็ง ฯลฯ

การพัฒนาธุรกิจ Hospitality ในภาคบริการท่องเที่ยวเพื่อก้าวสู่ตลาดอาเซียน

ธุรกิจ Hospitality เป็นอีกหนึ่งกลุ่มธุรกิจที่มีแนวโน้มขยายตัวสอดคล้องกับการขยายตัวของภาคการท่องเที่ยว เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพเศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบัน ที่ส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมและความต้องการของผู้บริโภค ทำให้การท่องเที่ยวได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของการดำรงชีวิต ทั้งเพื่อการพักผ่อน คลายเครียด เรียนรู้ และเข้าสังคม ส่งผลให้ธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับภาคการท่องเที่ยว หรือกลุ่มธุรกิจ Hospitality เป็นธุรกิจที่มีความสำคัญ และมีแนวโน้มเติบโตสูงปัจจุบันมีหลายประเทศเริ่มให้ความสำคัญกับการพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว โดยเฉพาะประเทศในกลุ่มอาเซียนที่ต่างพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว ใหม่ๆ รวมทั้งธุรกิจที่เกี่ยวข้อง เพื่อรองรับกับจำนวนนักท่องเที่ยวที่คาดว่าจะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นภายหลังจากการก้าวไปสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC อย่างเต็มรูปแบบในปี 2558 อย่างไรก็ตาม ด้วยความโดดเด่นทางด้านความหลากหลายของสินค้าและสถานที่ท่องเที่ยว อัธยาศัยไมตรี ความคุ้มค่าเงิน ประกอบกับทำเลที่ตั้ง ของประเทศไทย และอีกหลายๆปัจจัย ทำให้คาดว่าธุรกิจ Hospitality ของไทยยังคงมีศักยภาพในการแข่งขันในตลาดอาเซียน โดยเฉพาะธุรกิจสปา แพทย์แผนไทย ธุรกิจท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ-เชิงนิเวศน์-เชิงวัฒนธรรม เป็นต้น

ปัจจัยแวดล้อมภายนอก นโยบายที่เกี่ยวข้องและกฎระเบียบต่างๆ การเมือง ภาวะเศรษฐกิจโลก ข้อตกลงทางการค้าและบริการ ฯลฯปัจจัยสนับสนุน โครงสร้างพื้นฐาน สาธารณูปโภค บริการขนส่ง(ทางบก ทางน้ำ ทางอากาศ) เทคโนโลยี ระบบการเงิน การตลาด การศึกษา สิ่งแวดล้อม สังคม ฯลฯธุรกิจบริการที่เกี่ยวเนื่องกับภาคการท่องเที่ยว โรงแรม/ที่พัก ร้านอาหาร บริการสุขภาพ/การแพทย์ MICE ธุรกิจนำเที่ยว สปา แพทย์แผนไทย ผลิตภัณฑ์สมุนไพร บริการรับ-ส่งนักท่องเที่ยว ธุรกิจจำหน่ายของที่ระลึก ฯลฯการก้าวไปสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือ AEC อย่างเต็มรูปแบบในปี 2558 ที่มีเป้าหมายเพื่อให้อาเซียนรวมเป็นตลาดเดียวกันและมี ฐานการผลิตร่วมกัน โดยเปิดเสรีการค้า ภาคบริการ การลงทุน และการเคลื่อนย้ายแรงงานที่มีทักษะระหว่างกัน รวมถึงมีการเคลื่อนย้ายเงินทุนอย่างเสรีขณะที่การเปิดเสรีภาคบริการท่องเที่ยว ได้แก่ บริการสุขภาพ และท่องเที่ยว(ธุรกิจนำเที่ยว ธุรกิจโรงแรม และธุรกิจร้านอาหาร) ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มเร่งรัด ที่กำหนดยกเลิกเงื่อนไขข้อจำกัดทั้งหมดและขยายเพดานสัดส่วนการถือหุ้นของนักลงทุนอาเซียนเป็นร้อยละ 70 ตั้งแต่ปี 2553 ที่ผ่านมา ส่งผลให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีของไทยต้อง เผชิญกับภาวะการแข่งขันที่คาดว่าจะมีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้นในระยะต่อไป อันเนื่องมาจากประเทศในกลุ่มอาเซียนต่างก็เริ่มหันมาให้ความสำคัญในการพัฒนาธุรกิจ Hospitality กันมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น สิงคโปร์ มาเลเซีย เวียดนาม เพื่อรองรับกับจำนวนนักท่องเที่ยวทั่วโลกที่คาดว่าจะหลั่งไหลเข้ามาท่องเที่ยวในแถบอาเซียนเพิ่มขึ้น

การพัฒนาความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวเพื่อความยั่งยืน

การวางแผนพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวและการดำเนินการด้านการตลาดร่วมกัน โดยให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของผู้ประกอบการและชุมชนในพื้นที่แหล่งท่องเที่ยว เพื่อสร้างยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวทั้งในระดับจังหวัดและกลุ่มจังหวัด ให้แสดงถึงอัตตลักษณ์ที่แตกต่างกัน ครอบคลุมถึงการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวใหม่ ปรับปรุงแหล่งท่องเที่ยวเดิม และส่งเสริมกิจกรรมการท่องเที่ยวตามความโดดเด่นของกลุ่มพื้นที่ ซึ่งจะเป็นรากฐานของยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวของประเทศไทยอย่างยั่งยืน โดยลดความเอารัดเอาเปรียบในอุตสาหกรรม ส่งเสริมให้มีการกระจายรายได้อย่างเหมาะสม โดยคำนึงถึงความเป็นธรรมสำหรับผู้ที่มีส่วนร่วมทุกฝ่าย อันจะนำไปสู่การพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน นอกจากนี้เครือข่ายความร่วมมือนี้ยังสามารถใช้เป็นฐานข้อมูลในการสนับสนุนการประกอบกิจการของผู้ประกอบการ สร้างระบบป้องกันและรองรับการเกิดวิกฤติหรือปัญหาสำหรับผู้ประกอบการในอนาคต

วัตถุประสงค์ของการท่องเที่ยว

ไม่ควรมุ่งหวังผลตอบแทนในรูปแบบของกำไรหรือเม็ดเงินที่จะเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจเพียงอย่างเดียว เป้าหมายที่แท้จริงของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวควรตระหนักถึงความเป็นอยู่ที่ดีของผู้เกี่ยวข้องโดยรวม ตัวชี้วัดประการหนึ่งที่ควรนำมาพิจารณาความสำเร็จขององค์กร ซึ่งวัดได้ด้วยดัชนีความสุขมวลรวม ทั้งนี้ผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยว อาทิ ผู้ประกอบการด้านโรงแรม ผู้ประกอบการนำเที่ยว ผู้ประกอบการให้เช่ารถยนต์ ควรเป็นผู้นำในการดำเนินงาน โดยนำเสนอว่าธุรกิจของพวกเขาจะนำสิ่งที่ดีกลับคืนมาสู่สิ่งแวดล้อมและสังคมได้อย่างไรบ้าง

การท่องเที่ยวนั้นสามารถเป็นได้ทั้งผู้สร้างและผู้ทำลายไปพร้อมๆกัน การจัดการแหล่งท่องเที่ยวเพื่อความยั่งยืนจึงจำเป็นต้องทำควบคู่กันไปทั้งการรักษาความสมบูรณ์ของสถานที่และการดำรงอยู่ของวัฒนธรรมท้องถิ่น เพราะสิ่งนี้ก็ถือได้ว่าเป็นรากฐานของจิตวิญญาณชุมชน เป็นแหล่งท่องเที่ยวชุมชนทั้งในเมืองและชนบทที่มีการบริหารจัดการการท่องเที่ยวในทิศทางที่ยั่งยืน พร้อมมีการดำเนินงานที่เน้นการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะอย่างยิ่ง การดำรงไว้ซึ่งวัฒนธรรมและวิถีชีวิตอันเป็นอัตลักษณ์ของชุมชน

อาเซียนจึงเป็นภูมิภาคที่มีศักยภาพอันยิ่งใหญ่เพื่อพัฒนาการท่องเที่ยว

นอกจากนี้ความหลากหลายทางวัฒนธรรมของประเทศสมาชิกและค่าบริการที่ถูกก็เพิ่มแรงดึงดูดของภูมิภาคต่อนักท่องเที่ยวในหลายปีที่ผ่านมา แม้ว่าวิกฤติทางการเงินโลก ราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้น และภัยธรรมชาติได้ส่งผลกระทบในทางลบต่อหลายประเทศ แต่การท่องเที่ยวได้มีส่วนร่วมต่อการสร้างเสถียรภาพและการพัฒนาของภูมิภาค การพัฒนาเศรษฐกิจสังคมของประเทศสมาชิก การสร้างงาน การขจัดความยากจนและลดช่องว่างของการพัฒนาทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน

การพัฒนาธุรกิจท่องเที่ยวในชุมชนให้มีการเติบโตต่อเศรษฐกิจมากยิ่งขึ้น

travel-nakon-lanka-4-2

ธุรกิจท่องเที่ยวเป็นธุรกิจหนึ่งที่มีการแข่งขันกันค่อนข้างสูง เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้มาเยือนท้องถิ่นของตน ในยุคโลกาภิวัฒน์ที่ข่าวสารไร้พรมแดน การโฆษณาประชาสัมพันธ์เป็นสิ่งจำเป็นการศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการท่องเที่ยว เพื่อเป็นข้อมูลในการจัดรูปแบบการท่องเที่ยวให้สนองความต้องการของนักท่องเที่ยว และนำมาใช้ในการคำนวณต้นทุน-กำไรในการจัดธุรกิจท่องเที่ยวได้อีกด้วย

การพัฒนาการท่องเที่ยวภายในประเทศ มีความสำคัญต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างมาก เป็นโอกาสในการกระจายรายได้สู่ชุมชนในชนบท และการจ้างงานในท้องถิ่น ภาครัฐ จึงได้กำหนด ยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวของชุมชนโดยกระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา ได้ให้การสนับสนุนให้องค์กรท้องถิ่นสามารถกำหนดนโยบาย เป้าหมาย แผนงาน และกิจกรรมด้านการท่องเที่ยวได้อย่างเป็นอิสระโดยภาครัฐจะสนับสนุนด้านความรู้ ประสบการณ์ และงบประมาณอุดหนุนผ่านกลไกของรัฐในรูปแบบต่างๆ

การท่องเที่ยวโดยชุมชน ทางเลือกในการจัดการท่องเที่ยวที่ชุมชนเข้ามากำหนดทิศทางของการท่องเที่ยว บนฐานคิดที่ว่า ชาวบ้านทุกคนเป็นเจ้าของทรัพยากรและมีส่วนได้เสียจากการท่องเที่ยว โดยการนำเอาทรัพยากรในท้องถิ่นต่าง ๆที่มีอยู่ ไม่ว่าธรรมชาติ ประวัติศาสตร์ ประเพณี วิถีชีวิต และวิถีการผลิตของชุมชนมาใช้เป็นต้นทุน หรือปัจจัยในการท่องเที่ยวอย่างเหมาะสม รวมทั้งมีการพัฒนาศักยภาพของคนในชุมชนให้มีความรู้ และบทบาทที่สำคัญ ในการดำเนินงาน ตั้งแค่ การตัดสินใจ การวางแผน การดำเนินงาน การสรุปบทเรียน และมุ่งเน้นให้เกิดความยั่งยืนสู่รุ่นลูกหลาน และเกิดประโยชน์ต่อท้องถิ่นโดยคำนึงความสามารถในการรองรับของธรรมชาติเป็นสำคัญ

ประเภทของการจัดนำเที่ยวโดยชุมชน
1. การจัดการนำเที่ยวเชิงนิเวศน์ เป็นการนำเที่ยวที่มีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้ซาบซึ้งกับความงาม ความยิ่งใหญ่หรือความพิศวงของธรรมชาติ เช่น การชมนก การเดินป่า เป็นต้น
2. การนำเที่ยวเพื่อการศึกษาวัฒนธรรม( Cultural Tourism ) เป็นการนำเที่ยวที่ตอบสนองความสนใจศึกษาเรียนรู้ในเรื่องศิลป วัฒนธรรม และประเพณีท้องถิ่น ของคนพื้นเมือง หรือการเรียนศิลปะ หัตถกรรม เป็นต้น
3. การจัดนำเที่ยวเพื่อการศึกษาวิถีชีวิต ชาวเขา (Tribal lifestyle Tourism ) เป็นการนำเที่ยวที่มีจุดประสงค์ให้นักท่องเที่ยว ได้รับความรู้และความเพลิดเพลิน จากการชมและสัมผัสวัฒนธรรมท้องถิ่น ศิลปะ ของชาวเผ่าพื้นเมืองที่มีอยู่หอย่างหลากหลายในภาคเหนือ บริเวณจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน เป็นต้น

 

การพัฒนาธุรกิจการท่องเที่ยวในยุคเศรษฐกิจปัจจุบัน

การท่องเที่ยวมีความสำคัญต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก ซึ่งในปัจจุบันกลายเป็นยุคของเศรษฐกิจเป็นย่างมาก โดยที่ธุรกิจต่างๆ จำเป็นต้องใช้การประสมประสานทางด้านการพัฒนาสินค้า บริการ ทรัพยากร และวิธีการสื่อสารกับลูกค้ารวมถึงแนวคิดใหม่ๆ ในการสร้างความแตกต่างและประสบการณ์ที่ดียิ่งขึ้นในการบริโภคสินค้า

สำหรับธุรกิจท่องเที่ยว จำเป็นจะต้องสร้างประสบการณ์ท่องเที่ยวร่วมกับการเรียนรู้ให้กับนักท่องเที่ยวในรูปแบบของการสื่อความหมายและการนำเสนอการท่องเที่ยวรูปแบบใหม่ๆซึ่งการเตรียมความพร้อมนี้ควรจะให้ความสำคัญดังนี้

การสร้างวิสัยทัศน์ เพราะปัจจุบันในประเทศไทยนั้น ผู้ประกอบการส่วนใหญ่จะเป็นธุรกิจขนาดเล็กโดยส่วนใหญ่ซึ่งจะขาดวิสัยทัศน์และกลยุทธ์ในการทำงาน ดังนั้นการวิสัยทัศน์เป็นการสร้างภาพในอนาคตขององค์กรไว้ให้มีความชัดเจน และสามารถสื่อสารให้คนในองค์กรสามารถรับรู้ได้ว่าในอนาคตบริษัทกำลังมุ่งหน้าไปสู่บริษัทแบบไหนและสร้างความชัดเจนในการกำหนดกลุ่มลูกค้าหลักของธุรกิจควบคู่ไปด้วย

การพัฒนาตลาดการท่องเที่ยวเพราะธุรกิจท่องเที่ยวของไทยเป็นสินค้าที่ขายดีและมีชื่อเสียง แม้อาจจะมีอุปสรรคในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวบ้างแต่ความเชื่อมั่นของนักท่องเที่ยวสามารถฟื้นคืนกลับมาได้หากมีการให้ข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องและครบถ้วน

การพัฒนาทางการท่องเที่ยวควบคู่กับการจัดโปรโมชั่นทางด้านการท่องเที่ยว เป็นรากฐานที่สำคัญต่อการเติบโตของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวเพราะทรัพยากรการท่องเที่ยวโดยเฉพาะทรัพยากรทางธรรมชาติเป็นสิ่งที่อาจถูกทำลายได้โดยง่ายจึงจำเป็นจะต้องอาศัยความร่วมมืออย่างระหว่างภาครัฐและเอกชนเพื่อเน้นการประชาสัมพันธ์ส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยการพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวก หรือแม้แต่การควบคุมปริมาณนักท่องเที่ยวให้เหมาะสม อาจนำไปสู่ปัญหาด้านต่างๆ

สร้างเครือข่ายพันธมิตรทางด้านธุรกิจท่องเที่ยว ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญในการพัฒนาธุรกิจ เนื่องจากไม่ใช่แค่การร่วมกันเป็นสมาคมหรือองค์กรขึ้นมาเพื่อเพียงแค่หาช่องทางในการสร้างผลประโยชน์ให้กับธุรกิจของตนเท่านั้น แต่เป็นการใช้โอกาสเพื่อร่วมกันสร้างอุตสาหกรรมท่องเที่ยวให้เข้มแข็ง ที่สำคัญสำหรับผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมเดียวกันคือ การมองว่าบริษัทอื่นๆ ในอุตสาหกรรมเราเป็นผู้ร่วมกันพัฒนาอุตสาหกรรมของเราให้มีมาตรฐานการให้บริการที่สูงขึ้น เพราะหากมีการร่วมมือตั้งใจพัฒนาอุตสาหกรรมและธุรกิจท่องเที่ยวอย่างจริงจังก็จะสามารถสร้างภาพรวมของธุรกิจให้ดีขึ้นรวมถึงทำให้มีการร่วมที่สามารถยกระดับมาตรฐานของธุรกิจท่องเที่ยวของไทยในเติบโตต่อไปอนาคตอย่างยั่งยืนได้

รัฐบาลและภาคเอกชนต่างมุ่งทำการตลาดที่ให้ความสำคัญกับการเพิ่มปริมาณนักท่องเที่ยว

การเดินทางท่องเที่ยวตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้เป็นสากล

เป็นการเดินทางจากที่อยู่อาศัยปกติไปยังที่อื่นเป็นการชั่วคราว เป็นการเดินทางด้วยความสมัครใจ เป็นการเดินทางด้วยวัตถุประสงค์ใดๆก็ตามที่ไม่ใช่เพื่อการประกอบอาชีพหรือหารายได้ นักท่องเที่ยวจะนำเงินไปใช้จ่ายเป็นค่าที่พัก ค่าอาหาร ค่าเดินทางเพื่อชมสถานที่ต่างๆ ค่าซื้อของฝากของที่ระลึกและอื่นๆอีกจำนวนมาก เงินของนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศ และนักท่องเที่ยวชาวไทยจะกระจายไปสู่กลุ่มอาชีพต่างๆทุกอาชีพ การเดินทางท่องเที่ยวเป็นการผ่อนคลายความตึงเครียด ได้รับความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรม ได้พบเห็นภูมิประเทศที่แปลกตา และได้สร้างสัมพันธ์กับคนต่างถิ่นด้วย การคมนาคมสะดวก ธุรกิจต่างๆ เกิดขึ้นเพื่อรองรับการเดินทางมากมายธุรกิจต่างๆ

ปัจจุบันกระแสการท่องเที่ยวโลกหันกลับไปสู่การท่องเที่ยวแบบย้อนยุคเพื่อการพักผ่อนที่แท้จริง และมองการท่องเที่ยวเป็นการเดินทางหาความรู้หาประสบการณ์ โดยตลาดที่ชื่นชอบการท่องเที่ยวแบบศึกษาหาความรู้ ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มคนชั้นกลางและเป็นตลาดใหญ่สุด ส่วนการท่องเที่ยวไทยนั้นได้รับการยอมรับในระดับโลกว่าเป็นที่สุดในใจนักท่องเที่ยว 2 เรื่อง คือ ความคุ้มค่าเงินและความเป็นมิตร แต่ที่ผ่านมารัฐบาลและภาคเอกชนต่างมุ่งทำการตลาดแบบให้ความสำคัญกับการเพิ่มปริมาณนักท่องเที่ยว จึงชูมูลค่ามากกว่าคุณค่า ส่งผลให้จำนวนนักท่องเที่ยวที่เติบโตขึ้นกลับกระจุกตัวเพียงจังหวัดท่องเที่ยวหลักเท่านั้น

ถึงแม้ว่าภาพการท่องเที่ยวในอนาคตของไทยจะดูสดใส ก็มิได้หมายความว่าจะไม่มีคู่แข่ง ในทางตรงกันข้ามการแข่งขันกับประเทศเพื่อนบ้านในกลุ่มอาเซียนจะเป็นไปอย่างรุนแรง สภาพสังคมในปัจจุบันมีความเครียดในการดำรงชีวิตประจำวันทำให้เกิดความต้องการที่จะพักผ่อนมากยิ่งขึ้น แต่ระยะเวลาในการหยุดพักผ่อนไม่ได้เพิ่มมากขึ้น จึงต้องการเห็นการท่องเที่ยวที่มีคุณภาพสูงโดยมีการคำนึงถึงคุณภาพและราคาเป็นหลัก

ผลต่อการท่องเที่ยว

1.ทางเลือกของการใช้เงินและใช้เวลาจะมีมากกว่าการที่จะใช้เงินเพียงเพื่อการท่องเที่ยว ดังนั้นปัจจัยเรื่องที่พักและสถานที่ท่องเที่ยวจะเป็นปัจจัยสำคัญในการพิจารณาใช้วันหยุด
2.สถานที่ท่องเที่ยวที่ไม่ได้มาตรฐานจะไม่เป็นที่ยอมรับอีกนาน
3.พฤติกรรมการท่องเที่ยวตามหลักผสมผสาน เช่น นักท่องเที่ยวอาจเลือกพักผ่อนคราวนี้อย่างเรียบง่าย คราวหน้าอาจต้องการความหรูหรา โดยปีนี้อาจพักระยะยาว ปีหน้าอาจพักระยะสั้น
4.การเลือกการพักผ่อนในวันหยุดจะกระจัดกระจายมากยิ่งขึ้นในอนาคต
5.ความต้องการที่จะท่องเที่ยวในสถานที่ที่เป็นเอกลักษณ์และสร้างความประทับใจ
6.ทางเลือกที่สามารถมีการเคลื่อนย้ายตัวได้ระหว่างการท่องเที่ยวจะส่งผลให้มีการเช่ารถยนต์เพิ่มมากขึ้น
7.ภูมิภาคที่เสนอแนวทางการท่องเที่ยวที่หลากหลายแต่สมบูรณ์จะทำให้มีความต้องการมีมากยิ่งขึ้นและเรียกร้องให้มีการจัดการสถานที่ท่องเที่ยวที่ดียื่งขึ้น

ความร่วมขององค์กรพัฒนาธุรกิจการท่องเที่ยว

ประเทศญี่ปุ่น ต้นกำเนิดดอกซากุระ ขึ้นชื่อว่ามีสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจอยู่หลากหลาย มีวัฒนธรรมที่เก่าแก่ มีเทคโนโลยีใหม่ๆ มีธรรมชาติที่สวยงาม นักท่องเที่ยวที่มาเยือนต่างชื่นชอบ และไม่มีวันลืม ด้วยสถานที่ท่องเที่ยวที่สวยงาม และวัฒนธรรมการกินที่มีความหลากหลาย จึงเป็นเสน่ห์ที่น่าจดจำอย่างหนึ่งของประเทศญี่ปุ่น และเป็นความใฝ่ฝันของนักท่องเที่ยวอีกหลายคนที่จะต้องมาเที่ยวให้ได้สักครั้ง

แต่เมื่อ 2 ปีที่ผ่านมานี้ได้เกิดเหตุแผ่นดินไหวนอกชายฝั่งแปซิฟิกโทโฮะกุ เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2554 ที่ผ่านมา นับเป็นเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่รุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นที่ได้มีการบันทึกไว้ ก่อให้เกิดคลื่นสึนามิพัดเข้าทำลายชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน และทำให้สถานที่ท่องเที่ยวในญี่ปุ่นเสียหายไปไม่น้อย ส่งผลให้รัฐบาลญี่ปุ่นต้องประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน นับว่าเป็นเหตุการณ์ร้ายแรงที่ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมท่องเที่ยวภายในประเทศอย่างมาก ทำให้นักท่องเที่ยวเกิดความหวาดกลัว ต่างยกเลิกหรือเลื่อนการเดินทางเข้าประเทศญี่ปุ่น ด้วยเหตุนี้เองทำให้รัฐบาลญี่ปุ่นจึงต้องใช้กลยุทธ์การพัฒนาธุรกิจเข้าฟื้นฟูตลาดการท่องเที่ยวอย่างเร่งด่วน โดยต้องอาศัยความร่วมมือใหม่ขององค์กรต่างๆ เพื่อเรียกคืนความเชื่อมั่น และจูงใจให้นักท่องเที่ยวอยากกลับมาเที่ยวประเทศญี่ปุ่น ไม่ว่าจะเป็นส่งข้อมูลเกี่ยวกับพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ภัยพิบัติให้กับนักท่องเที่ยวต่างชาติ จัดกิจกรรมประชาสัมพันธ์โดยตรงกับนักท่องเที่ยวทั่วไปในตลาดหลัก เร่งฟื้นฟูพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ อำนวยความสะดวกในการเดินทางให้แก่นักท่องเที่ยว เพื่อสร้างความไว้วางใจและเชื่อมั่น

ด้วยความร่วมมือขององค์กรภาคต่างๆภายในประเทศ และนอกประเทศ รวมทั้งบุคลากรภายในประเทศที่มีความสามารถมากมาย อีกทั้งคนในประเทศเองถูกปลูกฝังให้เป็นประชาชนผู้รักชาติอันดับต้นๆของโลก ซึ่งทำให้การฟื้นฟูส่วนต่างๆที่เสียหาย อาทิเช่น อาคาร บ้านเรือน เศรษฐกิจ ฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็ว รวมถึงการท่องเที่ยวเองที่ชาวญี่ปุ่นยกเลิกวีซ่าสำหรับคนไทยทำให้คนไทยเข้ามาเที่ยวเพิ่มมากขึ้นอีกด้วย ทั้งนี้ด้วยความร่วมมือมากมายทำให้พื้นที่ที่ได้รับความเสียหายกลับมามีสภาพคงเดิมได้อย่างรวดเร็ว ช่วยดึงดูดนักท่องเที่ยวได้อีกครั้ง เพราะจากการประชาสัมพันธ์ที่น่าเชื่อถือ ทำให้นักท่องเที่ยวเกิดความเชื่อมั่นในความปลอดภัย

รื่นรมย์ชมซากุระที่สวนฮานะมิยามะ จังหวัดฟุกุชิมะ

ฮานะมิยามะ คือ สวนสาธารณะที่ตั้งอยู่บนเนินเขาฟุกุชิมะ อาซุมะ ที่ล้อมรอบไปด้วยเทือกสวนไร่นาของชาวบ้านที่อาศัยอยู่นอกเขตชนบท ภายในจังหวัดฟุกุชิมะ โดยจุดเริ่มต้นของสวนแห่งนี้เกิดจากเกษตรกรในท้องถิ่น ที่นิยมปลูกไม้ดอกไม้ประดับบนเนินเขารอบ ๆ ที่ดินของพวกเขา โดยเฉพาะดอกซากุระซึ่งมีอยู่หลากหลายสายพันธุ์ด้วยกัน กระทั่งต้นไม้ดอกไม้เหล่านั้นเติบโตขึ้นและออกดอกบานสะพรั่งไปทั่วทั้งเนินเขา จนในที่สุดพื้นที่บริเวณนี้ก็ถูกตั้งให้เป็นสวนสาธารณะในปี ค.ศ. 1959 และตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา นักท่องเที่ยวมากมายต่างแห่แหนมาชมดอกซากุระที่นี่อย่างเนืองแน่นเป็นประจำทุกปี

โดยช่วงพีคของฤดูกาลออกดอกของซากุระที่สวนฮานะมิยามะนั้น คือ ในช่วงฤดูใบไม้ผลิ ตั้งแต่กลางเดือนเมษายนไปจนถึงปลายเดือน ซึ่งดอกซากุระทุก ๆ สายพันธุ์จะเบ่งบานสะพรั่งพร้อม ๆ กันไปทั่วทั้งหุบเขา รวมไปถึงดอกไม้อื่น ๆ อีกจำนวนมาก ทั้งอุเมะ (ดอกบ๊วย) ริงโกะ (ดอกแอปเปิล) ซึซึจิ (ดอกอาซาเลีย) ฯลฯ ที่มีการปลูกล้อมรอบเนินเขาแห่งนี้ด้วยเช่นกัน ก็จะพากันแตกดอกออกผลจนก่อเกิดเป็นทัศนียภาพอันสวยงาม ที่นักท่องเที่ยวต้องไปสัมผัสด้วยตาของตัวเอง

สำหรับนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาสวนสาธารณะแห่งนี้ในช่วงเทศกาลดอกซากุระ คนส่วนใหญ่จะเดินทางโดยใช้บริการรถรับส่งจากสถานีฟุกุชิมะหรือสถานีอื่น ๆ ที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียงอันมีจุดหมายปลายทางที่สถานีฮานะมิยามะ จากนั้นนักท่องเที่ยวต้องเดินขึ้นเขาไปตามเส้นทางที่เต็มไปด้วยดอกไม้เรียงรายเต็มสองข้างทาง ซึ่งข้างบนนั้นถือเป็นจุดชมวิวที่นักท่องเที่ยวจะสามารถมองเห็นสีสันแห่งฤดูใบไม้ผลิได้ในแบบพาโนรามา ที่หาชมได้ยากยิ่ง

เชียงคาน นั้นมีอะไรดี หลายๆคนถึงอยากไปเที่ยวกัน

เสียงลือเสียงเล่าอ้างคงไม่เท่าตาเห็น เลยตัดสินใจไปดูให้เห็นแก่ตา สัมผัสให้รู้แก่ใจ ว่าทำไมใครๆ ถึงพูดถึงเมืองเล็กๆ ริมฝั่งโขงที่ชื่อ “เชียงคาน” แห่งนี้ และใครที่อยากไปพิสูจน์และสัมผัสเสน่ห์ของเมืองเล็กๆ แห่งนี้เหมือนกันกับเรา หนาวนี้เชียงคานก็พร้อมรอต้อนรับทุกคนอยู่ เก็บกระเป๋าแล้วตามเราไปเที่ยวเชียงคานกัน เรามีทุกอย่างที่คุณอยากรู้และต้องรู้เกี่ยวกับการไปเที่ยวที่นี่มาให้พร้อมแล้ว

เชียงคาน…เป็นยังไง? เชียงคานอยู่ที่จังหวัดเลย เมืองที่มีดีหลากหลายทั้งธรรมชาติงดงามและวัฒนธรรมโดดเด่น เชียงคานเป็นอำเภอเล็กๆ ตั้งอยู่ติดริมแม่น้ำโขงที่กันเขตแดนไทย-ลาว และในอดีตเชียงคานก็มีประวัติศาสตร์ที่สัมพันธ์อยู่กับเมืองลาว โดยเมืองเชียงคานเดิมชื่อปากเหืองตั้งอยู่ที่ฝั่งประเทศลาว ต่อมาได้มีการอพยพโยกย้ายของผู้คนมาอยู่บ้านท่านาจันทร์ในฝั่งไทย และกลายเป็นเมืองเชียงคานในปัจจุบัน บรรพบุรุษของชาวเชียงคานจึงเป็นคนลาวที่ทำให้เชียงคานมีวิถีชีวิตและวัฒนธรรมบางอย่างที่คล้ายคลึงกับทางฝั่งลาว เช่น การตักบาตรข้าวเหนียว ภาษาพื้นถิ่น และอาหารการกินบางอย่างตัวเมืองเชียงคานในยุคแรกๆ จึงถือกำเนิดขึ้นตามแนวฝั่งโขง ก่อนที่จะขยายตัวออกไปเช่นในปัจจุบัน

และเราจะยังสามารถเห็นภาพของชุมชนเก่าแก่ของเชียงคานในยุคดั้งเดิมได้จากอาคารบ้านเรือนที่เป็นอาคารไม้ปลูกเรียงรายอยู่ตามถนนศรีเชียงคานฝั่งล่าง หรือที่เรียกกันว่า “ถนนชายโขง” และภาพของอาคารไม้เก่าแก่ที่ส่วนใหญ่จะเป็นอาคารแถว เพราะย่านนี้เคยเป็นย่านการค้าของเชียงคาน ซึ่งเป็นสิ่งที่หาดูได้ยากขึ้นในปัจจุบัน ก็เป็นสิ่งที่ทำให้ผู้คนสะดุดกับเสน่ห์ของเชียงคานเป็นครั้งแรกถึงแม้ในปัจจุบันนี้อาคารไม้สองข้างถนนชายโขงหลายแห่งจะเปลี่ยนแปลงไป เพราะส่วนใหญ่ถูกดัดแปลงเป็นที่พักในลักษณะของเกสต์เฮาส์เล็กๆ ร้านค้า และร้านอาหาร หรือ บางแห่งก็ถูกรื้อถอนและเปลี่ยนโฉมไปจากเดิมแต่สำหรับผู้คนที่โหยหาอดีต หรืออยากที่จะสัมผัสกับความแตกต่างของวิถีชีวิต อันหาไม่ได้ในเมืองหลวง เชียงคาน…ที่แม้จะเริ่มมีจริตจะก้านแปลกตาไปกว่าของดั้งเดิมบ้าง ก็ยังคงเรียกได้ว่ามีความ “น่ารัก” ที่เรียกร้องให้ผู้คนอยากเดินทางไปสัมผัสกันได้อยู่ แต่อย่ามัวแต่เดินชมบ้านเมือง ความเป็นเชียงคานไม่ได้อยู่แค่เสน่ห์ของบ้านเก่าที่เอาไว้เดินถ่ายรูป แต่เสน่ห์ของเชียงคานยังอยู่ที่ผู้คนที่ยินดีจะสังสันทน์เสวนาและบอกเล่าถึงความเป็นมาของเชียงคานให้ได้ฟัง หรือแม้แต่จะทักทายพูดคุยกันด้วยมิตรจิตมิตรใจแบบที่อาจจะหาได้ยากในเมืองหลวง

ไปเที่ยวพุทธมณฑลกันดีกว่า

อีกหนึ่งวันของการพักผ่อนสำหรับคนที่ไม่อยากตะลอนไกล เราจะชวนคุณไปใช้วันหยุดสุดสัปดาห์กับที่ท่องเที่ยวใกล้กรุงในย่านพุทธมณฑลดูบ้างรับรองว่าชิลล์ไม่เบาเลยทีเดียว อาคารสีเหลืองเด่นที่ไม่ว่าใครไปถึงก็จะต้องถ่ายรูปด้วยเสมอ นี่คือสถานที่ตั้งของพิพิธภัณฑ์ภาพยนตร์ไทย ตัวอาคารจำลองแบบมาจากโรงถ่ายภาพยนตร์ศรีกรุงในอดีต ด้านในจัดแสดงข้าวของเครื่องใช้ต่างๆ รวมถึงเรื่องราวของบุคคลที่สร้างสรรค์ภาพยนตร์ไทยมาตลอดระยะเวลากว่า 100 ปี เปิดให้เข้าชมทุกวันเสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ วันละ 3 รอบ เวลา 10.00 น. 13.00 น. และ 15.00 น. โดยทุกรอบมีวิทยากรนำชมและปิดท้ายด้วยการชมภาพยนตร์ไทยเรื่องแรกๆ ที่หาดูได้ยาก นอกจากนี้ ยังมีกิจรรมจัดฉายภาพยนตร์วันละหนึ่งรอบในโรงภาพยนตร์ศรีศาลายา รวมถึงมีกิจกรรมกระทบไหล่ดาราดังโดยเชิญนักแสดงมาร่วมประทับฝ่ามือและรอยเท้าลงบนลานดาราเหมือนในฮอลลีวูดอีกด้วย

ช่วงเช้าที่แดดยังไม่แรงนักเหมาะจะไปสัมผัสวิถีชีวิตริมสายน้ำของชาวคลองมหาสวัสดิ์ คลองเก่าแก่ที่ขุดขึ้นตั้งแต่พ.ศ. 2402 และกิจกรรมไฮไลต์ที่จัดไว้รอท่านักท่องเที่ยว ก็คือการพาล่องเรือเลียบคลอง

มหาสวัสดิ์ผ่านจุดท่องเที่ยวต่างๆ 5 จุด เริ่มจากลงเรืออีแปะที่ท่าน้ำหน้าวัดสุวรรณรามแล้วมุ่งหน้าไปชมนาบัวกว้างใหญ่กว่า 20 ไร่ ไปดูการทำนาบัวเก็บบัว ลงบัว หรือคัดบัวก่อนส่งขายปากคลองตลาด ใครนึกสนุกอยากจะทดลองทำนาบัวสักครั้งในชีวิตก็ไม่มีใครว่า ถ้าไม่กลัวมอมไปซะก่อนจากนั้น เรือจะพาไปแวะต่อที่ศูนย์แปรรูปผลิตภัณฑ์กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรมหาสวัสดิ์ ไปทดลองทำข้าวตังจากข้าวซ้อมมือ ซึ่งเป็นสินค้าโอท็อปของที่นี่ก่อนกลับยังพาไปชมสวนกล้วยไม้ขนาดใหญ่ที่ปลูกกล้วยไม้เพื่อการส่งออก แล้วแวะไปสนุกสนานกับการนั่งรถอีแต๋นเที่ยวสวนผลไม้ พร้อมช้อปปิ้งผลไม้จากสวนราคาย่อมเยากลับบ้าน